“หลอดไฟ” เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม.?
การใช้ชีวิตและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ผู้คนมีความจำเป็นต้องอาศัยแสงสว่างในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนั้น “แสงสว่าง”มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะมนุษย์ สัตว์และพืช ซึ่งแสงสว่างจากธรรมชาติที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตในเวลากลางคืน ความต้องการแสงสว่างที่นอกเหนือจากแสงสว่างจากธรรมชาติย่อมเกิดขึ้นจากสิ่งที่มนุษย์คิดค้นและสร้างขึ้นที่เรียกว่า “แสงสว่างจากหลอดไฟ”
“หลอดไฟ” เป็นอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ให้ความส่องสว่างในแต่ละพื้นที่ของการใช้ชีวิตและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยที่หลอดไฟมีหลากหลายประเภทของการเลือกใช้ ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ ของการใช้งาน ปัจจุบันมีความก้าวหน้าและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์หลอดไฟ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและส่งผลด้านต่างๆ ของผู้ใช้งานอีกด้วย
ดังนั้นการเลือกหลอดไฟในระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ใช้ในอาคารย่อมต้องคำนึงถึงประโยชน์ ความเหมาะสมและผลกระทบต่อผู้ใช้งานโดยการเลือกใช้จะมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
เลือกจากหลอดที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพื่อจะลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดที่ชำรุด โดยปัจจุบันหลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 15,000 - 50,000 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการเลือกใช้งาน เป็นต้น โดยที่พิจารณาง่ายๆดังนี้
เลือกจากความถูกต้องของสี (Color Rendering Index หรือ CRI) ของหลอดไฟ LED คุณภาพดีสามารถมี CRI สูงถึง 90-100 ซึ่งหมายความว่าแสงที่ออกจากหลอดไฟ LED จะใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติคมชัดและแม่นยำ มีหลายอุณหภูมิสี (เช่น แสงขาวอุ่น, ขาวเย็น) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆ เช่น ห้องแสดงผลิตภัณฑ์สินค้า, ห้องงานแสดงศิลปะ, ห้องถ่ายภาพ,วิดีโอ, หรือห้องทำอาหารที่ต้องการความแม่นยำในการมองเห็น
เลือกจากระดับความส่องสว่าง ที่พื้นที่ต้องการจะขึ้นอยู่กับประเภทของพื้นที่และการใช้งานโดยปริมาณแสงที่หลอดไฟจะปล่อยออกมามีหน่วยเป็น ลูเมน (Lumen) โดยความส่องสว่างที่ได้จากหลอดไฟที่กระทบพื้นผิว 1 ลูเมน (Lumen) ต่อ 1 ตารางเมตรมีหน่วยเป็น ลักซ์ (lux) เช่น ห้องทำงานในสำนักงานค่าความส่องสว่างเฉลี่ยอยู่ช่วง 300-500 ลักซ์ เป็นต้น เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องใช้สายตาในการอ่านหรือพิมพ์เอกสารที่ต้องการแสงที่มีความคมชัดเพียงพอ สามารถอ้างอิงข้อมูลตารางมาตรฐานค่าความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ต่าง ๆ ในการเลือกให้เหมาะสม โดยค่าความส่องสว่างที่ต้องการจะถูกกำหนดโดยพิจารณาจากขนาดของพื้นที่และชนิดของหลอดไฟที่ใช้ หากต้องการคำนวณความส่องสว่างของพื้นที่ใช้งาน
จากสูตร จำนวนลูเมนเหมาะสม = พื้นที่ (m²) × ค่าความส่องสว่างที่ต้องการ (lux)
เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน โดยที่แสงมีผลต่ออารมณ์ และ สภาพจิตใจ ของผู้ใช้งานได้ เพราะแสงที่สว่างจากหลอดไฟมีผลต่อ ฮอร์โมน และ สมอง โดยเฉพาะแสงที่มี อุณหภูมิสี (สีของแสง) และ ระดับความสว่าง ที่แตกต่างกัน ดังนี้
แสงขาวเย็นหรือแสงที่มีสีฟ้า ช่วยทำให้ เกิดการตื่นตัว โดยมักใช้ในสถานที่ที่ต้องการความสว่างสูง เช่น พื้นที่ทำงาน สำนักงาน หรือห้องเรียนหนังสือ เพราะแสงประเภทดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มความกระตือรือร้นและความชัดเจนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แสงขาวอุ่นหรือแสงเหลืองมีความอบอุ่น ช่วยทำให้สบาย ผ่อนคลาย เหมาะกับห้องพักผ่อน
แสงสีส้ม ช่วยให้ความรู้สึกสบาย รู้สึกผ่อนคลาย หรือรู้สึกมองและสวยงาม เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความสวยงาม และสำหรับการพักผ่อน
เลือกหลอดที่มีการผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานหลอดไฟ โดยมีการพิจารณาเลือกใช้ดังนี้
มาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ IEC (International Electrotechnical Commission) องค์กรที่จัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- หลอดไฟที่มีระบบการป้องกันกระแสไฟเกินจะช่วยป้องกันอุปกรณ์จากความเสียหาย และลดความเสี่ยงที่หลอดไฟจะเกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
- หลอดไฟที่ปลอดภัยจากสารอันตราย เช่น ปรอท ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อใช้ในที่ที่มีการสัมผัสหรือการติดตั้งในพื้นที่ใช้งาน
- หลอดไฟที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัย ผ่านการทดสอบทดสอบความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง เช่น การทดสอบการทนความร้อน, การทนทานต่อการแตกหัก, และการทดสอบด้านไฟฟ้า
หลอดไฟที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าหลอดไฟที่ใช้อยู่จะมีความปลอดภัยทั้งในด้านการใช้งานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิด โดยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อการเลือกใช้หลอดที่ได้มาตรฐานและประหยัดพลังงานโดยการใช้หลอดไฟที่ได้รับฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นอีกทางเลือกที่ผู้ใช้งานควรพิจารณาเพราะ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” คือหลอดที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่ได้มาตรฐานตามที่ กฟผ. และกระทรวงพลังงานกำหนด โดยจะมีหลากหลายระดับของการประหยัดพลังงานตามที่ได้ผ่านการทดสอบขึ้นอยู่กับระดับประสิทธิภาพพลังงาน ตั้งแต่ เบอร์ 5 - เบอร์ 5★★★★★ ดังตารางเกณฑ์ต่อไปนี้
เกณฑ์ระดับประสิทธิภาพพลังงานผลิตภัณฑ์หลอด LED
หมายเหตุ : ที่มาข้อมูลโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
การเลือกใช้หลอดไฟเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญยิ่งในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ การลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้พลังงานของหลอดไฟในภาคครัวเรือนก็จะส่งผลดีต่อประเทศและโลกของเรา การเลือกใช้หลอดที่มีคุณภาพได้มาตรฐานยังส่งผลดีต่อตัวผู้ใช้งานทั้งเป็นการประหยัดและความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่และความเหมาะสมโดยจะใช้เกณฑ์มาตรฐานความสว่างในพื้นที่ใช้งานต่างๆ เพื่อให้การใช้งานหลอดอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้งานอย่างปลอดภัย